ทากดูดเลือด

 

          “ทากดูดเลือด (Haemadipsa sylvestris)” มีลักษณะคล้ายปลิง ดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือด เป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามพื้นที่ที่มีความชื้นสูงและจะพบมากในช่วงฤดูฝน มีขนาดประมาณ 2 – 6 เซนติเมตร โดยมีอวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูด (Sucker) อยู่ทั้งทางด้านหัวและด้านท้าย แต่จะใช้ส่วนหัวในการดูดเลือดและส่วนท้ายใช้สำหรับยึดเกาะพื้นผิว หากมองแบบผิวเผินแล้วอาจจะทำให้ยากต่อการแยกแยะว่าด้านไหนคือส่วนหัวและด้านไหนคือส่วนท้าย วิธีสังเกตง่ายๆ คือ ด้านที่เรียวหรือเล็กกว่าคือส่วนหัว ส่วนด้านที่อ้วนหรือใหญ่กว่าคือส่วนท้าย

          วิธีการกัดและดูดเลือด: ทากอาศัยการจับแรงสั่นสะเทือนจากการเดินของเหยื่อ โดยมันจะคอยชูตัวรอเหยื่อเข้าใกล้และค่อยๆไต่เหยื่ออย่างแผ่วเบาเพื่อหาตำแหน่งดูดเลือดที่เหมาะสมจนเหยื่อแทบไม่รู้สึกตัว ระหว่างดูดเลือดทากจะปล่อยสารชนิดหนึ่งคล้ายกับยาชาและเวลาที่ทากดูดเลือดมันจะปล่อยสารออกมา 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ สารฮีสตามีน(Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน(Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด (ด้วยเหตุนี้เลือดของเหยื่อจะไหลไม่หยุด) สำหรับผู้ที่ถูกทากกัดจะรู้สึกแสบๆ คันๆ บริเวณรอยแผลให้ใช้ยาเส้น ยาฉุน หรือใบสาปเสือ ปิดปากแผลไว้

วิธีป้องกัน:  – แต่งกายให้รัดกุม สวมถุงเท้ายาวที่มีเชือกรัดอยู่บริเวณหน้าแข้ง

– ฉีดสเปรย์ตะไคร้บริเวณเชือกและรองเท้า

– ใช้ยาเส้นหรือยาฉุนทาบริเวณรองเท้า ขากางเกง หรือยัดไว้ในรองเท้า

 

ที่มา: http://nstda.or.th/rural/public/100%20articles-stkc/19.pdf

www.dernpa.com/index.php?topic=692.0

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คลังบทความ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น