ประทัดใหญ่

ประทัดใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Quassia amara  L.

ชื่อสามัญ :   Stave-wood, Sironum wood

วงศ์ :   Simaroubaceae

ชื่ออื่น :  ปิง ประทัด  (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1.5-3 เมตร แตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มเตี้ย เปลือกต้นเรียบ  สีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ  กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบรวมสีแดงมีครีบแผ่ออกทั้งสองข้าง ใบอ่อนสีแดง ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงสด กลีบดอกไม่บานจะหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวยคว่ำ ก้านช่อดอกสีแดง ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำ
ส่วนที่ใช้ : 
ราก  ใบ  เนื้อไม้  เปลือก

สรรพคุณ :

  • ราก –  มีรสขมจัด ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ได้ดี
  • ใบ – ทาผิวหนัง แก้คัน
  • เปลือกและเนื้อไม้ – เป็นยาบำรุงน้ำย่อย ทำให้เกิดอยากรับประทานอาหาร
  • เนื้อไม้ – นำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็ก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • ใช้เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย
    ต้มเนื้อไม้ประทัดจีน (ประทัดใหญ่) 4 กรัม ด้วยน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร และเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย
ใช้เนื้อไม้ 0.5 กรัม ประมาณ 4-5 ชิ้น ชงน้ำเดือด 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งเดียว

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน คลังบทความ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น