
พุดชมพู
Kopsia fruticosa (Kerr)A. DC.
ชื่อเรียกอื่น : ตึ่งตาใส อุณากรรณ
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ขนาดเล็ก สูงถึง 10 เมตร ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรี กว้าง 3.3-8 ซม. ยาว 7.5-18 ซม. ปลายใบเรียว แหลม โคนใบรูปลิ่ม ดอก สีชมพูหรือสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 7-12 ซม. มีขนสั้น ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 5.5 ซม. กลีบรอง ดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายกลีบบนแยก 5 แฉก กลีบดอก เป็นหลอด ยาวประมาณ 4 ซม. ส่วนปลายแผ่เป็น 5 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายมน เกสรผู้ 5 อัน ติดอยู่ใกล้ปากหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยง หรือมีขน ผล สีดำแดง ยาว 1.5-1.7 ซม. ปลายผลเป็นจงอยเด่น
การกระจายพันธุ์ : พบในประเทศจีน เมียนม่าห์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศไทย ในสภาพธรรมชาติ พบในป่าดิบหรือป่าที่กำลังคืนสภาพบนภูเขาหินปูน ที่ระดับความสูง ถึง 500 เมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
แหล่งอ้างอิง : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7